แนวข้อสอบนายสิบตำรวจ วุฒิ ม.6 ประจำปี 2556 วิชา ภาษาไทย


วิชาภาษาไทย (1)



1.       ข้อความใดใช้อักษรย่อผิด
          1.           สุนทรภู่เป็นบุคคลสมัย  ร.1  ถึง  ร.4
          2.           จว.ชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง
          3.           ด.ช. สมทรงเป็นนักเรียนดีเด่น
          4.           พล.อ.เปรม  ติณสูลานนท์  เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย
2.       คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดอ่านเหมือนคำว่า หวงแหน
          1.           ให้นางแมวสิบแสนมาแหนแห่
          2.           อย่ากระแนะกระแหนถึงแม่พ่อ
          3.           เห็นแหนลอยล่องให้ท้องธาร
          4.           ฉันเลี้ยงปลานิลให้กินแหน
3.       ข้อใดออกเสียงตัวสะกดของพยางค์หน้าเป็น อะ กึ่งเสียงทุกคำ
          1.           อุตลุด  อุปมา  อุปไมย
          2.           สัพยอก  สัปหงก  สัญชาติ
          3.           ผลกรรม  ผลิตผล  ผลาหาร
          4.           ธรรมดา  ธรรมชาติ  ธรรมเนียม
4.       ประโยคขาดความชัดเจนเพราะไม่มีบุพบท
          1.           ถ้าเธอรังแกฉัน ๆ จะฟ้องแม่
          2.           นมแก้วนั้นดื่มเสียให้หมด
       3.           นั่งเก้าอี้เสียทีซิ
          4.           แม่เลี้ยงฉันโต
5.       ..........พระผู้เป็นเจ้าขอจงประทานพรให้..........ข้าด้วยเถิด  ควรเติมคำบุพบทลงในช่องว่าง
          1.           ดูกร แด่                               3.         ข้าแต่ แก่
          2.           ดูก่อน กับ                            4.         ดูรา เพื่อ
6.       ข้อใดคือข้อความของประโยคการิต
          1.           เป็ดว่ายน้ำ
          2.           ไก่ถูกแมวกัด
          3.           มีนักเรียน 20 คน ในชั้นนี้
          4.           เขาบังคับให้คนใช้ทำงานหนัก
7.       ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
          1.           วลี       คือ กลุ่มคำที่เรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบ
          2.           วลี       คือ กลุ่มคำที่มีความหมาย เป็นคำที่เข้าใจแต่ไม่ครบบริบูรณ์
          3.           วลี       คือ ส่วนหนึ่งส่วนใดของประโยค
          4.           วลี       คือ ข้อความที่เป็นประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป
8.       ข้อใด  ไม่ใช่  ประโยค
          1.           สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
          2.           น้ำใจหญิงเหมือนน้ำกลิ้งบนใบบอน
          3.           เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร
          4.           ลิ้นกับฟันยังรู้จักกระทบกัน
9.     จรกาหน้าหนูใช้เปรียบเทียบกับอะไร
          1.           คนที่มีลักษณะรูปหน้าเรียวเล็ก
          2.           คนจนแต่ฟุ่มเฟือย
          3.           คนที่เข้าพวกกับใครไม่ได้
          4.           คนที่ชอบลักขโมย
10.     มีสติรู้ว่าได้พูดอะไรออกไป ข้อใดให้ความหมายถูกที่สุด
          1.           คิดก่อนพูด
          2.           พูดก่อนคิด
          3.           รู้ว่าพูดอะไรออกไป
          4.           รู้ว่าพูดอะไรและจะมีผลเช่นไร
11.     คุณธรรมและจรรยามารยาท  เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทุกคนจะต้องมี  ข้อใดถูกต้องที่สุด
          1.           ทุกคนต้องมีคุณธรรม
          2.           ทุกคนต้องมีจรรยามารยาท
          3.           ทุกคนต้องมีคุณธรรมและจรรยามารยาท
          4.           ทุกคนต้องมีคุณธรรมหรือจรรยามารยาท
12.     ข้อใดไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ
          1.           เป็นเวลา  3  วัน  ที่หน่วยกู้ภัยค้นหาผู้ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก
          2.           ปัจจุบันประเทศไทยส่งผักและผลไม้ไปจำหน่ายที่อังกฤษและญี่ปุ่น
                        เดือนละกว่า  120  ตัน
3.           กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี่พร้อมด้วยนักบินอวกาศ  7  คน  เดินทางกลับถึงพื้นโลกโดยสวัสดิภาพ
4.           สถานการณ์หวาดผวาโรควัวบ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคสมองฝ่อในมนุษย์  ยังคุกคามประเทศเพื่อนบ้านอยู่ขณะนี้
13.     ข้อใดเป็นคำสมาสทุกคำ
          1.           ขัณฑสีมา  สูตรคูณ  อุโบสถศีล  บายศรี
          2.           โอษฐภัย  กลเม็ด  ประภาคาร  องคาพยพ
          3.           ทิพยจักษุ  หิรัญบัตร  เมรุมาศ  ภูมิลำเนา
          4.           รัตติกาล  วัฎจักร  พิพิธพร  ทศนิยม
14.     ขัด ในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
          1.           เมื่อใส่เสื้อควรขัดกระดุมให้เรียบร้อย
          2.           คุณตาขัดมีดไว้ข้างฝาเมื่อเลิกใช้แล้ว
          3.           เรือนไทยสมัยโบราณเขาจะใช้ไม้ขัดประตู
          4.           แม่ครัวขัดกระทะแล้วนำไปผึ่งแดด
15.     ข้อใดไม่มีความหมายที่แสดงความหมายถึงพระนิพพาน
          1.           หวังจะยังสัตว์ให้ข้ามห้วงมหรรณพภพสงสารให้ถึงฟาก
          2.           ธรรมดาว่าสตรีนี้เป็นเกาะแก่งกีดกระแสกุศล  มีมัจฉริยะมืดมนคือตัวมาร
          3.           สำเภานี้ก็ไม่ได้วอกแวกวาบหวั่นไหว  ก็จะแล่นระรี่เรื่อยเฉื่อยไปจนถึงเมืองแก้ว
4.           ขอให้ทูลกระหม่อมแก้วจงสำเร็จแก่พระวิสุทธิสร้อยสรรเพชญพุทธ
อัครอนาวรณญาณในอนาคตกาลโน้นเถิด
16.     ข้อใดมีคำชนิดเดียวกับคำที่ขีดเส้นใต้ในประโยค  ฉันจะซื้อหนังสือสามเล่ม
       1.           เขาสั่งก๋วยเตี๋ยวอีกชาม
          2.           ฉันนั่งอ่านหนังสือคนเดียว
          3.           แม่มีลูกคนที่สองเป็นชาย
          4.           ในสวนมีต้นมะพร้าวหลายต้น
17.     ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
          1.           บ่อรวมปลาใช้เป็นบ่ออนุบาลลูกปลาที่มีขนาดเล็ก
          2.           ปลาพันธุ์ต่างๆกินอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแปลงนา
          3.           หลังจากที่ไถคราดและปักดำเสร็จแล้วจึงควรปล่อยปลา
          4.           พันธุ์ปลาที่เหมาะแก่การเลี้ยงในนาข้าวควรมีคุณสมบัติเลี้ยงง่าย
18.     ข้อใดไม่แสดงวัฒนธรรมในการใช้ภาษา
          1.           กับข้าวไทยส่วนใหญ่มักมีรสเผ็ด
          2.           ดิฉันปวดศรีษะจึงขออนุญาตลาหยุดครึ่งวัน
          3.           บิดาของกามนิตเป็นพ่อค้าใหญ่ของกรุงอุชเชนี
          4.           สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ทางโทรทัศน์
19.     ข้อใดใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
          1.           ธนาคารส่งจดหมายนัดให้สุดาไปสอบสัมภาษณ์
          2.           ลูกสาวของเขาทั้งสามคนหน้าตาพอไปวัดไปวาได้
          3.           เจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารว่าถูกต้องแล้วจึงประทับตรารับรอง
          4.           อธิบดีได้รับเชิญให้กล่าวคำอวยพรในงานมงคลสมรส
20.     ข้อใดเป็นจุดประสงค์ของผู้แต่งคำประพันธ์ต่อไปนี้
                        ศาสตร์ใดจะล้ำเท่า                ธรรมาน
                        ทรัพย์สิ่งใดใครทาน                ที่ให้
                        รักใดจักปูนปาน                      รักสัจ  ศีลนา
                        สุขสิ่งใดจักได้                         สุขเพี้ยงนฤพาน
          1.           พูดให้คิด                                
2.           เตือนให้ทำ
          2.           แนะให้หวัง                            
4.         ถามให้ตอบ
21.     ข้อใดใช้ภาษาในงานเขียนเชิงวิชาการได้เหมาะสมที่สุด
          1.           หากเหตุการณ์ยังเป็นอย่างนี้แน่นอนว่าผู้ใหญ่ก็ย่อมคัดค้าน
          2.           สังคมจะพัฒนาอย่างยั่งยืนได้  ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของประชาชน
          3.           ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามต่างก็มีบทบาทในการพัฒนาสังคมได้เสมอ
          4.           คงไม่ใช่เรื่องของรัฐที่จะออกกฎหมายบังคับให้ชาวบ้านเลิกรักษาป่าชุมชน
22.     ข้อใดใช้คำถูกต้องตามหน้าที่ทุกคำ
          1.           คุณอย่าเข้มงวดลูกๆนักเลย  ปล่อยให้พวกแกได้เล่นสนุกบ้างเถิด
          2.           การปฏิบัติงานต้องวิวัฒนาการไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
          3.           เราควรนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
          4.           หัวหน้าอธิบายอย่างละเอียด  พวกเราจึงชัดเจนแล้วว่าขั้นตอนการปฏิบัติงานเป็น
อย่างไร
23.     การใช้คำซ้ำในข้อใดต่างจากข้ออื่น
       1.           น้ำพระทัยเธอข่อนๆ คิดไม่ขาด
          2.           น้ำพระชลนัยน์ไหลลงหลั่งๆ
          3.           พุ่มไม้ครึ้มเป็นเงาๆ  ชะโงกเงื้อม
          4.           ฝูงสกุณาออกหากินบินเกริ่นก้องร้องอยู่แจ้วๆ
24.     คำประพันธ์ต่อไปนี้ไม่ใช้กลวิธีการแต่งตามข้อใด
                   “ฉับฉวยชกฉกช้ำ                   ฉุบฉับ
                        โถมทุบทุ่มถองทับ                  ถีบท้าว
                        เตะตีต่อยตุบตับ                       ตบตัก
                        หมดหมู่เมงมอญม้าว               ม่านเนื้อหมางเมิน
          1.           การเล่นคำ
       2.           สัมผัสสระ
          3.           สัมผัสพยัญชนะ
          4.           การเลียนเสียงธรรมชาติ
25.     คำขวัญในข้อใดไม่มีการแสดงเหตุผล
          1.           ช่วยกันประหยัดพลังงาน  ด้วยวิธีการหารสอง
          2.           ล้างผักให้หมดพิษ  เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย
          3.           รักชาติสาสน์กษัตริย์  ช่วยขจัดยาเสพติด
          4.           อย่าเดินใจลอยข้ามถนน  รถจะชนเอา
26.     ข้อใดไม่ใช่ภาพพจน์
          1.           หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ
                        แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร
          2.           ลมระเริงลู่หวิวพลิ้วระลอก
                        สัพยอกยอดไม้ไปลิ่วล่อง
          3.           ดอกไม้ป่าปรุงกลิ่นประทิ่นป่า
                        อบบุหงามาลัยทั่วไพรกว้าง
          4.           ระเมียรไม้ใบโบกสุโนกเกาะ
                        สุดเสนาะเสียงนกซึ่งผกโผน
27.     ข้อใดแสดงความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
          1.           เราก็เป็นคนดีมีวิชา  พี่คิดว่าหาเป็นกระไรไม่
          2.           ได้ถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา  จะหลบลี้หนีหน้าไปทำไม
          3.           จะก้มหน้าเกิดใหม่ให้ได้ดี  ชาตินี้มีกรรมเราทำไว้
          4.           จึงตั้งความสัตย์อธิษฐาน  กราบกรานอารักษ์แล้วฝากฝัง
28.     ข้อใดแสดงความเชื่อที่ต่างจากข้ออื่น
          1.           เอาเทียนจุดบูชาแก่เทวัญ
                        ให้ป้องกันอันตรายในราวไพร
          2.           แต่รอยบาทอนุญาตไว้ยอดเขา
                        บุญของเราได้มาเห็นก็เย็นเศียร
          3.           พอถึงวัดจันทร์ตะวันพลบ
                แวะเคารพรูปพระชินสีห์
          4.           เป็นเวรากรรมจึงจำจาก
                        ขอฝากมาหยารัศมี
29.     ข้อใดแสดงความเชื่อตามคำสอนในกาลามสูตร
          1.           ได้ยินข่าวเล่าลือออกชื่อมา
                        ว่าพระพิจิตรบุษบานั้นใจดี
          2.           เชื่อใจในพระเวทวิทยา
                        รำลึกตรึกตราถึงคุณครู
          3.           แต่พิเคราะห์เนื้อความตามใบบอก
                        ว่าเจ้าออกมาหาพระวิจิตร
          4.           วันทองนึกถึงฝันให้พรั่นจิต
คิดคิดเห็นจะท้องต้องคำผัว
30.     เอเชี่ยนเกมส์ครั้ง สิบสาม เปิดงานงดงามชาวโลกตื่นตาตื่นใจชื่นชมยกย่องชาติไทยชื่อเสียงลือไกลจารึกเกียรติไว้...นิรันดร์  ข้อความข้างต้นถ้าจัดวรรคให้ถูกต้องจะได้คำประพันธ์ตามข้อใด
          1.           ร่ายยาว                                                           
2.           กลอนแปด
          3.           กาพย์ฉบัง                                           
4.           โคลงสามสุภาพ